ให้สัมภาษณ์ The Nation : Social media to play major role in vote



อาจารย์บอมให้สัมภาษณ์ The Nation

เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2562 อาจารย์บอม ได้ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ The Nation 
เรื่องบทบาทของสื่อสังคมออนไลน์ในการเลือกตั้งปี 2562 นี้  
( Social media to play  major role in vote )  โดยเนื้อหาได้รับการแปลเป็นภาษาไทย โดยเว็บ lekasina

 

ชนัฐ เกิดประดับ social media communication specialist กล่าวว่าบทบาทของ social media คือ เป็น mass media แต่มี niche เฉพาะกลุ่ม และพรรคการเมืองเจาะเลยว่าใน niche นั้นใครคือ micro-influencer ในกลุ่มนั้น ก็จะเอามาเป็นหัวคะแนนออนไลน์ ซึ่งหัวคะแนนใน social media จะเป็นหัวคะแนนในเรื่องของนโยบาย  เรื่องของแนวคิด ไม่ได้เป็นหัวคะแนนแบบแจกเงิน ซึ่งเป็นเรื่องใหม่มากๆ สำหรับเมืองไทย

 

บนโลก social media ร้อนฉ่าใน niche แต่ละกลุ่ม ทำให้พรรคการเมืองใหญ่ หรือคนที่กุมอำนาจอยู่ไม่ได้ได้เปรียบ และผล poll ก็อาจจะไม่เป็นอย่างที่ออกมา ในกลุ่มย่อยๆ ที่เป็น niche ไม่มีใครรู้ว่า เขาคุยออะไรกัน แล้วคะแนนออกมาเป็นยังไง” ในการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว social  media เพิ่งเป็นที่นิยม และกลุ่มผู้ใช้งานก็ยังไม่ mass เท่ากับในวันนี้ วันนี้ social media มีมากและหลากชนิดขึ้น เข้าถึงกลุ่มคนที่มีความหลากหลายมากขึ้น มีตั้งแต่ผู้สูงอายุเล่น LINE กลุ่มเด็กเข้ามาใช้ Twitter มากขึ้น เพราะฉะนั้น สิ่งแรกเลยที่เห็นความแตกต่างของบทบาทของ social media ต่อการเลือกตั้งในครั้งนี้คือ ในมิติของฐานมวลชนกว้างขึ้นและหลากหลายขึ้น ประการต่อมา มีความเป็น niche มากขึ้น เจาะเฉพาะกลุ่มมากขึ้น
เราจะเห็นกลุ่มต่างๆ ของคนบน
social media เยอะมาก โดยเฉพาะบน Facebook และ LINE และ Twitter ที่มีการใช้แฮชแทก # เพื่อสื่อสารกันในกลุ่ม

 

การใช้ social media เพื่อการสื่อสารทางการเมือง  ในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย จะมีความเฉพาะ และต้อง customize มากขึ้น ไม่เหมือนครั้งที่แล้วที่ social media เหมือนป้ายหาเสียงบนโลกออนไลน์ที่พรรคการเมืองใช้ประกาศนโยบายพรรค แต่ครั้งนี้บางพรรคเริ่มที่จะมีนโยบายบางอย่างและโฟกัสที่บางกลุ่มแล้วสื่อสารผ่าน social media นอกจากนี้ ยังมีการใช้การทำ data mining ว่ากลุ่มไหนสนใจนโยบายด้านไหน แล้วมีการโยนนโยบายกลับลงไปใน  social media กลุ่มนั้น มีการใช้ AI จับข้อมูลว่าในแต่ละกลุ่มเขาพูดคุยเรื่องการเมืองในประเด็นอะไรกันบ้าง และมีใครเป็น influencer

 

การใช้สื่อแบบดั้งเดิม traditional media  ในการหาเสียงจะน้อยลง ยกเว้นในเรื่องนโยบายใหญ่ๆ เพราะสื่อแบบเดิมต้องใช้เงินเยอะ และต้องสาดกระจายออกไปในกลุ่มคนวงกว้าง
โดยที่ไม่รู้ว่าจะคุ้มค่าไหม นอกจากนี้ social media เป็นการเปิดโอกาสใหม่ๆ ให้กับพรรคการเมืองใหม่ๆ ที่จะใช้ในการสื่อสารทางด้านการเมือง (political Communication) ซึ่งวันนี้ไม่ใช่แค่เรื่องของเงินทุนอย่างเดียว เพราะทุกคนสามารถเข้าถึงและเป็นจ้าของพื้นที่สื่อสังคมออนไลน์ได้  แต่เป็นเรื่องของการที่เขาสามารถเอาเนื้อหาที่เขาเขียนหรือสร้างสรรค์ขึ้น (content creator ) คือจะต้องเขียนเนื้อหาให้เข้าถึงกลุ่มคน​ โดยใช้ภาษาที่เข้าถึงคนแต่ละกลุ่ม รวมทั้งนักการเมืองในยุคนี้ต้องโชว์ความจริงใจ(Sincerity)ในการสื่อสารผ่าน social media ด้วยเพราะจะมีคนคอยตรวจสอบอยู่ตลอดเวลา

 

อีกประเด็นที่น่าเป็นห่วง คือ ข่าวปลอม ข่าวปล่อย หรือ fake news ซึ่งจะมีออกมาเยอะมากบน social media ไม่ว่าจะเป็นการตัดต่อ การโจมตี (สารพัดเรื่อง) พรรคการเมืองแต่ละพรรคจะมีวิธีในการรับมือกับ crisis management ไในเรื่องนี้ได้ดีแค่ไหน อันนี้ต้องคอยติดตามดู  

 

Social media  จะมีผลมากต่อการเลือกตั้งครั้งนี้ เพราะเด็กรุ่นใหม่ที่เพิ่งจะมีสิทธิได้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเป็นครั้งแรก ใช้เวลาอยู่บน social media เยอะมากกว่าบนเวลาบน traditional media ฉะนั้นหาก พรรคการเมืองไหนสามารถยึดครองคนกลุ่มนี้ได้ก็มีโอกาสชนะสูง  นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มคนแก่ ที่ชอบเล่น LINE พรรคการเมืองต้องรู้ว่า social media ชนิดไหนเข้าถึงกลุ่มคนแบบไหน และต้องรู้ว่าคนเหล่านี้ต้องการนโยบายอะไร และหากเกิดดราม่ากับพรรคการเมืองของเรา เราจะสามารถแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงทีอย่างไร ถ้าทำได้ อันนี้โอกาสชนะในเกมนี้ยังมี 

 

Social media แม้จะส่งผลมากแต่ก็จะบริหารจัดการยากมากสำหรับพรรคการเมือง แม้ว่า พรรคนั้นจะมีทีมงานบริหารจัดการดูแลให้ แต่หาก content ที่ออกไปกับภาพลักษณ์ของพรรคตรงกันข้าม นี่ก็จะทำให้เสียคะแนนได้ เพราะดูแล้วไม่จริงใจ  แต่หากทีมงานที่ดูแล Social Media ไม่ดี โอกาสที่จะหลุดยิ่งสูง ทีมงานดี ทุกอย่างดี แต่การสื่อสาร fake ออกไป จะโดนตรวจสอบโดยกระแสของโลก social  รอบนี้คะแนนเสียงที่ออกมา ยากจะคาดเดา เพราะมีกลุ่ม niche ที่กระจายอยู่บน social media เยอะมาก การหาเสียงของพรรคการเมือง จะมีทั้ง talk big เพื่อสื่อสารไปถึงกลุ่ม mass และมีการสื่อสารแบบ customized ทั้เจาะจงบางนโยบายลงเฉพาะกลุ่ม ซึ่งการสื่อสารทั้งสองแบบควรจะต้องเดินไปด้วยกัน 

 

การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการวัดพลังกัน ระหว่างกลุ่มคนสูงอายุ โดยเฉพาะในต่างจังหวัด ที่ชื่นชอบนโยบายประชานิยมและยังอยู่กับสื่อแบบเดิม (Traditional Media)  กับคนรุ่นหนุ่มรุ่นสาว ที่อยู่กับ Social Media  และไม่สนับสนุนนโยบายประชานิยม


Original Source in English: THE NATION  WEEKEND

 

About Ajbomb

นักหาเรื่อง นักเล่าเรื่อง นักเขียน นักแปล รักการสอน รักเด็ก รักสัตว์ รักธรรมชาติ รักษ์โลก

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น