เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2557 ที่ผ่านมาผมและเพื่อนๆ ชาว Twitter เชียงใหม่ได้มีโอกาส พบปะกับท่านเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทย Kristie Kenney ในแบบจิบกาแฟคุยกันสบายๆ ณ.ร้าน Starbucks แห่งหนึ่งในเชียงใหม่ ก่อนที่ท่านจะอำลาตำแหน่งและเดินทางกลับประเทศสหรัฐอเมริกาในเดือนหน้า
การพูดคุยกันระหว่างเรากับท่านเอกอัครราชทูตนั้นเป็นไปด้วยบรรยากาศที่เป็นกันเองและอบอวลไปด้วยมิตรภาพเช่นทุกครั้งที่ได้เจอกับท่าน แต่ความพิเศษของการพูดคุยในครั้งนี้คือ เราได้ถามคำถามหลายคำถามที่ไม่เคยกล้าถามท่านมาก่อน และท่านก็ได้กรุณาตอบ ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว ผมจึงขอนำมาเล่าต่อในที่นี้ซะเลย
เราเริ่มต้นด้วยคำถามแบบเบาๆ สบายๆ เกี่ยวกับเครื่องแต่งกายของท่าน เพราะสังเกตเห็นว่าท่านแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีสีสันเสมอ เลยอยากรู้ว่าท่านมี ดีไซน์เนอร์หรือนักออกแบบเสื้อผ้า ประจำตัวหรือ ไม่?
ท่านตอบว่า ท่านไม่มีดีไซน์เนอร์หรือ สไตล์ลิสท์ ประจำตัวแต่อย่างใด เสื้อผ้าของท่านนั้น
ท่านเป็นคนออกแบบด้วยตัวเอง หรือไม่ก็กางดูจากรูปในนิตยสารต่างๆ แล้วส่งให้ช่างตัดเสื้อเป็นคนตัดออกมาตามแบบนั้น โดยผ้าที่ใช้ส่วนใหญ่จะเลือกซื้อเองจากจังหวัดต่างๆ ที่ได้ไปเยี่ยมเยือน
โดยส่วนตัวท่านชอบผ้าไทยมากๆ โดยเฉพาะผ้าฝ้าย เพราะใส่แล้วเย็นสบายดี
ท่านเป็นคนออกแบบด้วยตัวเอง หรือไม่ก็กางดูจากรูปในนิตยสารต่างๆ แล้วส่งให้ช่างตัดเสื้อเป็นคนตัดออกมาตามแบบนั้น โดยผ้าที่ใช้ส่วนใหญ่จะเลือกซื้อเองจากจังหวัดต่างๆ ที่ได้ไปเยี่ยมเยือน
โดยส่วนตัวท่านชอบผ้าไทยมากๆ โดยเฉพาะผ้าฝ้าย เพราะใส่แล้วเย็นสบายดี
เราถามต่อว่า ท่านมีเสื้อผ้าหลายชุดไหม?
ท่านตอบว่า เสื้อผ้าของท่านส่วนใหญ่แล้ว ตัดใหม่ไม่มากนัก เพราะยังมีเสื้อผ้าเดิมๆ อยู่พอสมควร เนื่องจากรูปร่างของท่านไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากนัก จึงทำให้สามารถใส่เสื้อผ้าเดิมๆ ได้
เมื่อเราถามต่อว่า แล้วตกลงท่านมีเสื้อผ้าทั้งหมดกี่ชุด?
ท่านถึงกับหัวเราะ แล้วบอกว่า “ไม่เคยนับ”
ในส่วนของสีเสื้อผ้านั้น ท่านบอกว่าชอบ “สีน้ำเงินและสีเขียว” เป็นพิเศษ แต่จะว่าไปแล้วทุกสีที่เข้ากันกับ สีน้ำเงินและเขียว ท่านก็ชอบหมด แต่ท่านยังแอบติดตลกโดยขอยกเว้น “สีแดงกับสีเหลือง” (อันนี้ เล่นเอาพวกเราฮากันรอบวง)
ผมยังได้ถามถึงตำแหน่งหน้าที่รับผิดขอบใหม่ของท่าน ที่กระทรวงการต่างประเทศ ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี ประเทศ สหรัฐอเมริกา
ท่านตอบว่า “งานใหม่ของท่านจะเกี่ยวข้องกับการดูแล เรื่องการสื่อสารบนโลกออนไลน์และ Social Media ในส่วนของทวีปเอเชีย ทั้งหมด ซึ่งเป็นงานที่ท่านบอกว่า น่าสนใจมาก”
ผมถามต่อว่า ในขณะที่ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทย ท่านดูแล Social Network ต่างๆ ด้วยตัวท่านเอง หรือว่า มีทีมงานที่คอยช่วยท่านดูแลให้ท่านด้วย
ท่านตอบว่า ทุก Social ที่เป็นส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็น Facebook Twitter หรือ Instagram นั้น ท่านเป็นคนเล่นเอง ดูแลเองทั้งหมด แต่ในส่วนของสถานทูตสหรัฐ
และสถานกงสุลที่เชียงใหม่นั้น มีทีมงานคอยดูแลอยู่
และสถานกงสุลที่เชียงใหม่นั้น มีทีมงานคอยดูแลอยู่
ผมเลยถามต่อซะเลยว่า ท่านเช็คหรืออ่านข้อความบน Social ทุกข้อความเลยหรือเปล่า?
ท่านตอบว่า หากมีเวลาท่านก็จะอ่านด้วยตัวเองทั้งหมด แต่หากมีประชุมหรือติดภารกิจ ก็อาจจะยังไม่ได้อ่านข้อความนั้นๆ แบบ Real Time แต่จะกลับมาอ่านภายหลังหรือ อ่านผ่านๆ ไปอย่างรวดเร็ว นอกจากเป็นเรื่องที่สำคัญ ท่านก็จะตอบกลับไปหรือประสานงานให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ รับเรื่องราวเพื่อดำเนินการต่อไป
ผมเลยถามต่อซะเลยว่า เรื่องต่างๆ ที่เขียนมาถึงท่านผ่านทาง Twitter นั้น เป็นอย่างไรบ้าง?
ท่านบอกว่า Followers ของท่านบน Twitter นั้น มีหลากหลายมาก
ทั้งคนต่างประเทศในไทย ทั้งคนในสหรัฐ ทั้งคนไทย ซึ่งแต่ละคนมีความคิดเห็นหรือความชอบที่แตกต่างกัน ดังนั้นไม่ว่าท่านจะทวิตหรือเขียนสิ่งใดออกไป ย่อมมีทั้งคนชอบและคนไม่ชอบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสงครามในตะวันออกกลาง ที่เรียกร้องหาความรับผิดชอบจากท่าน ไปจนถึงการคอมเม้นท์เรื่องเครื่องแต่งกายของท่าน เช่นว่าท่านนุ่งกระโปรงสั้นไปนะ (อันนี้ก็เรียกเสียงฮา ได้รอบวงอีกครั้ง)
ทั้งคนต่างประเทศในไทย ทั้งคนในสหรัฐ ทั้งคนไทย ซึ่งแต่ละคนมีความคิดเห็นหรือความชอบที่แตกต่างกัน ดังนั้นไม่ว่าท่านจะทวิตหรือเขียนสิ่งใดออกไป ย่อมมีทั้งคนชอบและคนไม่ชอบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสงครามในตะวันออกกลาง ที่เรียกร้องหาความรับผิดชอบจากท่าน ไปจนถึงการคอมเม้นท์เรื่องเครื่องแต่งกายของท่าน เช่นว่าท่านนุ่งกระโปรงสั้นไปนะ (อันนี้ก็เรียกเสียงฮา ได้รอบวงอีกครั้ง)
อย่างไรก็ตามท่านยังมองว่า Twitter หรือ Social Media นั้น มีประโยชน์ในแง่ของการแจ้งข่าวสารที่รวดเร็ว โดยเฉพาะในยามที่เกิดภัยพิบัติต่างๆ แต่หากมีการ Retweet หรือ Share ภาพหรือข้อมูลโดยปราศจากการตรวจสอบก่อนเช่น เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เชียงราย โดยมีการนำภาพถนนที่แตกร้าวจากที่อื่น มา Retweet หรือ Share ต่อๆ กัน โดยไม่มีการตรวจสอบ อาจทำให้ประชาชนเกิดความตื่นตระหนกตกใจได้
ผมถามว่า หากท่านพ้นจากตำแหน่งที่นี่แล้ว นโยบายด้านการใช้ Social Network ของสถานทูตอเมริกาประจำประเทศไทย จะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือไม่?
ท่านบอกว่า สถานทูตอเมริกาประจำประเทศไทย ยังคงใช้ Social Network ต่อไป เช่นเดิม พร้อมทั้งได้แนะนำทีม Social Network ของสถานทูตที่ได้เดินทางมาจากกรุงเทพพร้อมกันกับท่านให้ได้รู้จักกับผมและเพื่อนๆ ชาวทวิตเตอร์ที่เชียงใหม่ด้วย
ในตอนท้ายผมได้แกล้งแหย่ท่านเล่นว่าตั้งแต่เราเป็นเพื่อนกันมา ไม่เคยคุยกันเกี่ยวกับเรื่องการเมืองเลย ท่านบอกด้วยท่าทีสบายๆ ว่า คุยได้นะ คุยการเมืองคุยได้ (ย้ำถึงสามครั้ง แม้ว่ารอบวงจะได้แต่เงียบและอมยิ้ม) เมื่อท่านเปิดทางซะขนาดนี้ ผมเลยยิงคำถาม ถามท่านไปตรงๆ ว่า ท่านมองการเมืองไทยในปัจจุบันอย่างไร?
ท่านบอกว่าท่านเดินทางมาประเทศไทยเพื่อทำหน้าที่ตัวแทนของประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา
ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งสหรัฐอเมริกามีจุดยืนที่ชัดเจนคือ อยากเห็นประเทศไทยกลับคืนสู่การเลือกตั้ง แต่แน่นอนเมื่อประเทศไทยได้มีการจัดตั้งรัฐบาลเพื่อบริหารประเทศแล้วในขณะนี้ ท่านก็สามารถทำงานร่วมกันกับรัฐบาลในปัจจุบัน โดยท่านได้มีโอกาสเข้าพบรัฐมนตรีบางคนและมีการหารือด้านความร่วมมือกันในหลายๆ ประเด็น
ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งสหรัฐอเมริกามีจุดยืนที่ชัดเจนคือ อยากเห็นประเทศไทยกลับคืนสู่การเลือกตั้ง แต่แน่นอนเมื่อประเทศไทยได้มีการจัดตั้งรัฐบาลเพื่อบริหารประเทศแล้วในขณะนี้ ท่านก็สามารถทำงานร่วมกันกับรัฐบาลในปัจจุบัน โดยท่านได้มีโอกาสเข้าพบรัฐมนตรีบางคนและมีการหารือด้านความร่วมมือกันในหลายๆ ประเด็น
ท่านยังได้กล่าวอีกว่า ในสถานการณ์เช่นนี้ การที่จะทำให้ทุกฝ่ายพอใจนั้นย่อมเป็นไปไม่ได้ ที่ท่านทำทุกอย่างนั้นล้วนทำตามหน้าที่ของท่านในฐานะตัวแทนของประเทศสหรัฐอเมริกา หากท่านถูกต่อว่าหรือโจมตีนั้นถือเป็นเรื่องปกติ เพราะแต่ละฝ่ายที่มีความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างกัน ย่อมคาดหวังว่าท่าทีของท่านนั้นจะออกมาในแนวทางที่สนับสนุนความคิดเห็นในฝ่ายของตน
ท่านยังเล่าให้ฟังอีกว่า เหตุการณ์ทำนองคล้ายๆ กันนี้เคยเกิดขึ้น ในสมัยเมื่อท่านรับตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำฟิลิปปินส์ เช่นกัน ในช่วงเวลานั้นประชาชนบางส่วนไม่ชอบรัฐบาลและเมื่อเห็นท่านเข้าพบหรือทำงานร่วมกันกับรัฐบาล ก็โจมตีต่อว่าท่าน แต่ท่านก็ย้ำกับผมว่า
ทุกอย่างที่ท่านทำ ทำลงไปในฐานะตัวแทนของประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา
ทุกอย่างที่ท่านทำ ทำลงไปในฐานะตัวแทนของประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา
ท้ายสุดนี้ ผมและเพื่อนๆ ชาวทวิตเตอร์เชียงใหม่ ขอขอบคุณท่านเอกอัครราชทูต Kristie Kenney และ เจ้าหน้าที่สถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยทุกท่าน สำหรับมิตรภาพและความเป็นกันเอง ที่ท่านมีให้กับเรา ตลอดระยะเวลาที่ท่านดำรงตำแหน่งในประเทศไทย ผมถือว่าท่านเป็นเอกอัครราชทูตที่มีความโดดเด่นและสร้างสีสันในแวดวง Social ของไทยเป็นอย่างมาก ขอให้ท่านประสบความสำเร็จในตำแหน่งหน้าที่ความรับผิดชอบใหม่ที่ท่านได้รับมอบหมายที่ กระทรวงการต่างประเทศ ณ.กรุงวอชิงตัน ดีซี ประเทศสหรัฐอเมริกา
From your Twitter Friends,
@Ajbomb
30-10-2014