หนังสือน่าอ่าน เล่มที่ 42 ที่ผมอ่านจบในปีนี้ ชื่อว่า “The Border คน พรมแดน รัฐชาติ” เขียนโดย “ยศ สันตสมบัติ” ในชุด “ผลึกความรู้ : ชุดงานวิจัยฉบับเคี้ยวง่าย” ซึ่งหนังสือชุดนี้ถือเป็นความพยายามของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ที่พยายามฝ่าแนวกำแพงด้วยการแปรรูปงานวิจัยบนหอคอยงาช้าง ให้เป็นความรู้ฉบับประชาชนที่อ่านรู้เรื่องได้ง่ายๆ โดยใช้การสัมภาษณ์ ผู้วิจัย (ศ.ดร. ยศ สัตสมบัติ) เหมือนให้ท่านเล่า เกี่ยวกับงานวิจัยของท่าน เรื่อง “อำนาจ พื้นที่ และอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์: การเมืองวัฒนธรรมของรัฐชาติในสังคมไทย“
หนังสือเล่มนี้ จะทำให้เราเข้าใจ “โลกของเมืองชายแดน” ได้ชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มายาคติที่แวดล้อมอยู่ในความเป็นเมืองชายแดน ไม่ว่าจะเป็นด้านวิชาการ หรือ มายาคติที่รัฐได้สร้างขึ้นมา หนังสือเล่มนี้ยังได้เล่า เรื่อง “คน” ในเมืองชายแดน ซึ่งมีอัตลักษณ์ และ ใช้อัตลักษณ์นั้นเป็นเครื่องมือในการเจรจาต่อรอง รวมทั้งสร้างความได้เปรียบในเชิงอำนาจให้กับกลุ่มชนของตน ท้ายสุดอาจารย์ได้สรุปว่า แนวคิดเรื่องรัฐชาติ กำลังจะกลายเป็นแค่มายาคติ ซึ่งมีแนวโน้มจะล่มสลายไปในอนาคต ผมชอบนังสือเล่มนี้นะครับ แพราะอ่านง่าย อ่านสนุก และเปิดมุมมองใหม่ๆ ของเรื่องใกล้ๆ ตัว ที่เราเคยมองข้ามไปได้น่าสนใจอย่างยิ่งครับ
(หนังสือหนา 142 หน้า ราคาปก 120 บาท พิมพ์ครั้งที่ 1 ตุลามคม 2559 สำนักงานสนับสนุนกองทุนการวิจัย)